UFABETWIN ไขข้อสงสัย : ทำไม “เดอะ มาสเตอร์ส” ต้องมอบ “แจ็คเก็ตสีเขียว” ให้ผู้ชนะ?

ศึกกอล์ฟเมเจอร์ เดอะ มาสเตอร์ส ปี 2022 เปิดฉากอย่างเป็นทางการแล้วเที่ผ่านมา ณ สนามออกัสต้า เนชั่นแนล กอล์ฟ คลับ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ประจำทัวร์นาเมนต์นี้ก็คือผู้ชนะนอกจากได้ถ้วยแชมป์พร้อมเงินรางวัลแล้ว ยังได้รับ “กรีน แจ็คเก็ต” หรือเสื้อแจ็คเก็ตสีเขียวอันเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะสวมใส่ติดตัวไปด้วย

หลายคนคงจะสงสัยว่า ทำไมแชมป์กอล์ฟรายการ “เดอะ มาสเตอร์ส” ถึงได้รับเสื้อ “กรีน แจ็คเก็ต” เขาให้กันทำไม? แล้วเสื้อแจ็คเก็ตสีเขียวนี้มันมีที่มาที่ไปอย่างไร?

จะพาคุณผู้อ่านไปย้อนดูจุดกำเนิดของเสื้อที่เป็นดั่งสัญลักษณ์แห่งชัยชนะตัวนี้กัน

จุดกำเนิดที่แตกต่างกัน

เป็นเรื่องตลกพอสมควร เมื่อไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าเจ้า กรีน แจ็คเก็ต ตัวนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? แม้แต่เว็บไซต์ของ สมาคมกอล์ฟอาชีพชายของสหรัฐอเมริกา ก็ยังบอกเล่าจุดกำเนิดของแจ็คเก็ตสีเขียวในตำนานนี้ออกเป็น 2 ทางด้วยกัน

เรื่องแรก – บ็อบบี้ โจนส์ หนึ่งในเจ้าของสนาม ออกัสต้า เนชั่นแนล กอล์ฟ คลับ สังเวียนแข่ง เดอะ มาสเตอร์ส ได้รับเชิญไปร่วมรับประทานมื้อค่ำที่ รอยัล ลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ สนามแข่งขันกอล์ฟเมเจอร์ “ดิ โอเพ่น” แล้วพบว่ากัปตันของแต่ละคนใส่เสื้อแจ็คเก็ตสีเดียวกันหมดเลย บ็อบบี้ โจนส์ เลยนำไอเดียนี้กลับมาใช้ที่สนามกอล์ฟของตัวเอง

เรื่องที่สอง – คลิฟฟอร์ด โรเบิร์ตส์ อีกหนึ่งเจ้าของสนาม ออกัสต้า เนชั่นแนล กอล์ฟ คลับ ปิ๊งไอเดียเอา กรีน แจ็คเก็ต มาให้สมาชิกประจำสนามสวมใส่เพื่อเป็นการบอกว่านี่คือสมาชิกของสนามแห่งนี้ ถ้ามีข้อสงสัยอะไรหรืออยากหาคนชำระบิลค่าอาหารในสนามก็ให้เดินไปหาคนที่ใส่เสื้อแจ็คเก็ตสีเขียวได้เลย

ใครออกแบบ “กรีน แจ็คเก็ต”

เสื้อ กรีน แจ็คเก็ต เดิมทีผลิตโดยบริษัท บริษัทผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเมื่อปี 1937 แต่กลับมีเสียงบ่นจากสมาชิกสนามว่าเนื้อผ้าหนาใส่แล้วร้อนไม่สบาย เลยมีการเปลี่ยนบริษัทผู้ผลิตใหม่มาเป็น เมื่อปี 1967 ที่ใช้เนื้อผ้าเบาและถ่ายเทอากาศได้ดีขึ้น ส่วนสีเขียวก็เลือกใช้สีแพนโทน เบอร์ 342 ที่ให้โทนสีที่เข้มขลัง และใช้เวลา 1 เดือนในการผลิตมันขึ้นมา

 

UFABETWIN

 

มีการระบุว่าการสั่งทำ กรีน แจ็คเก็ต หนึ่งตัวมีค่าใช้จ่ายที่ 250 เหรียญสหรัฐ และทำมาให้คนที่เป็นสมาชิกสนามใส่เท่านั้น แต่เมื่อวันเวลาผันผ่าน เหล่าผู้บริหารสนาม ออกัสต้า เนชั่นแนล กอล์ฟ คลับ ก็หารือกันแล้วคิดว่าควรมอบ กรีน แจ็คเก็ต ให้แก่แชมป์ในรายการ เดอะ มาสเตอร์ส เพื่อบ่งบอกถึงสถานะว่านักกอล์ฟคนนี้คือแชมป์ของรายการนี้ และจะได้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสนามด้วย ดังนั้น จึงเริ่มมีนโยบายมอบ กรีน แจ็คเก็ต ให้แก่แชมป์ตั้งแต่ปี 1949 เป็นต้นมา

“แซม สนีด” ชายผู้ประเดิม “กรีน แจ็คเก็ต”

คนที่ได้ประเดิมสวมใส่ กรีน แจ็คเก็ต เป็นคนแรกในฐานะแชมป์ เดอะ มาสเตอร์ส ก็คือ แซม สนีด ตำนานนักกอล์ฟชาวอเมริกันที่คว้าแชมป์ได้เมื่อปี 1949 และเมื่อมีการมอบเสื้อให้แล้วผู้บริหารสนามก็สั่งทำเสื้อ กรีน แจ็คเก็ต มอบให้กับบรรดาแชมป์ที่เคยลงแข่งขันก่อนหน้านี้ย้อนหลังไปด้วย

จากนั้นมา ใครที่บุกมาคว้าแชมป์ที่สนาม ออกัสต้า ก็จะได้รับเสื้อ กรีน แจ็คเก็ต เป็นที่ระลึก และคนที่เป็นแชมป์เก่าก็จะต้องเอาเสื้อมาสวมให้แชมป์ใหม่ อันเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน แต่มีเรื่องตลกคือ ในการแข่งขันเมื่อปี 1965 แจ็ค นิกคลอส ตำนานสวิงชาวอเมริกัน บุกมาคว้าแชมป์ที่นี่ได้แล้วในปี 1966 เจ้าตัวก็ดันป้องกันแชมป์ไว้ได้อีก ด้วยความที่ยุคนั้นยังไม่เคยมีใครป้องกันแชมป์ในรายการ เดอะ มาสเตอร์ส ติดต่อกันได้ ทำให้ผู้บริหารสนามเลยหารือเร่งด่วนแล้วสรุปให้ แจ็ค นิกคลอส จัดการสวมเสื้อที่เคยได้ไปแล้วด้วยตัวเองไปเลย

อย่างไรก็ตาม เมื่อ นิค ฟัลโด้ กับ ไทเกอร์ วูดส์ สองสุดยอดนักกอล์ฟชาวอเมริกัน บุกมาคว้าแชมป์และป้องกันแชมป์ได้ในปี 1989-1990 กับ 2001-2002 ทางสนามจึงตัดสินใจให้ผู้บริหารเป็นคนสวมใส่เสื้อ กรีน แจ็คเก็ต ให้กับ ฟัลโด้ และ วูดส์ ด้วยตัวเอง

ให้เสื้อแชมป์ แต่ไม่ได้ให้เลย

มีหลายคนเข้าใจว่านักกอล์ฟที่ได้รับเสื้อ กรีน แจ็คเก็ต จะได้กลับบ้านไปเลยเป็นที่ระลึกโดยไม่ต้องมาคืน แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น เพราะทางสนามระบุว่า คนที่ได้แชมป์ เดอะ มาสเตอร์ส จะได้สิทธิ์ครอบครองเสื้อ กรีน แจ็คเก็ต เป็นเวลาเพียง 1 ปี และสามารถเอาไปเก็บไว้ที่บ้านได้ แต่ห้ามใส่ออกไปข้างนอก แล้วเมื่อถึงการแข่งขันปีต่อไป แชมป์เก่าจะต้องนำเสื้อมาคืนด้วย เพื่อเอามาสวมใส่ให้กับผู้เล่นที่เป็นแชมป์คนต่อไป ซึ่งมันจะถูกเก็บไว้ที่สนามและจะถูกนำออกมาก็ต่อเมื่อการแข่งขันมาถึงวันสุดท้าย

 

UFABETWIN

แต่ก็มีเรื่องขำเกิดขึ้นอีกในปี 1961 แกรี่ เพลเยอร์ ยอดนักกอล์ฟจากแอฟริกาใต้ คว้าแชมป์ เดอะ มาสเตอร์ส แล้วนำเสื้อ กรีน แจ็คเก็ต กลับบ้าน แต่พอปีต่อมาเจ้าตัวดันลืมเสื้อไว้ที่บ้านโดยไม่ได้พกมาที่สนามด้วย คลิฟฟอร์ด โรเบิร์ตส์ หนึ่งในเจ้าของสนามเลยบอกให้ แกรี่ เพลเยอร์ กลับไปเอาเสื้อที่บ้านหรือให้ใครก็ได้ส่งมาที่สนาม แต่ด้วยระยะทางที่ห่างไกล สุดท้าย โรเบิร์ตส์ เลยหยวนๆยก กรีน แจ็คเก็ต ให้ แกรี่ เพลเยอร์ เก็บไว้เลย แล้วไปหาตัวอื่นมาแทน พร้อมกำชับ เพลเยอร์ ว่า อย่าใส่ออกมาเดินเล่นนอกบ้านนะ

“กรีน แจ็คเก็ต” มีแค่ตัวเดียวเท่านั้น

หากย้อนดูประวัติศาสตร์ศึกเมเจอร์ เดอะ มาสเตอร์ส จะพบว่ามีนักกอล์ฟหลายคนที่คว้าแชมป์ในสนาม ออกัสต้า มากมายหลายสมัยเช่น แจ็ค นิกคลอส (6 สมัย), ไทเกอร์ วูดส์ (5 สมัย), อาร์โนลด์ พัลเมอร์ (4 สมัย), ฟิล มิคเคลสัน (3 สมัย) ซึ่งหลายคนก็เข้าใจอีกว่าผู้เล่นเหล่านี้น่าจะมีเสื้อ กรีน แจ็คเก็ต กันคนละ 4-5-6 ตัว

แต่อย่างที่บอกไปว่า “กรีน แจ็คเก็ต” สำหรับแชมป์ เดอะ มาสเตอร์ส มีแค่ตัวเดียวเท่านั้น และไม่ได้ให้ไปเก็บที่บ้านแบบถาวร ดังนั้น ต่อให้ได้แชมป์ เดอะ มาสเตอร์ส หลายสมัย แต่ กรีน แจ็คเก็ต ก็จะมีแค่ตัวเดียว และต้องเอามาคืนเพื่อสวมใส่ให้แชมป์คนใหม่ในการแข่งขันปีถัดไปด้วย

ส่วนคำถามที่ว่า แชมป์เก่าเอาเสื้อ กรีน แจ็คเก็ต จากที่ไหนมาใส่ตอนที่เดินออกมาสวมเสื้อแชมป์ให้แก่ผู้ชนะคนปัจจุบันในวันสุดท้าย? คำตอบคือ เป็นเสื้อที่สนามทำเก็บไว้ให้พวกเขาใส่ตอนอยู่ในสนามนั่นเอง และเมื่อใช้เสร็จแล้วก็ต้องเอาไปแขวนเก็บไว้ที่เดิม

ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของ “กรีน แจ็คเก็ต” เสื้อแจ็คเก็ตแห่งชัยชนะที่มีเพียงแค่แชมป์ เดอะ มาสเตอร์ส เท่านั้นที่ได้สวมใส่ และได้รับการจารึกว่าครั้งหนึ่งเคยได้เป็นผู้พิชิตสนาม ออกัสต้า อันเป็นตำนานแห่งนี้

UFABETWIN